เราเชื่อเหลือเกินว่าหลายๆ คน คงจะต้องเคยเห็นหรือเคยได้ยินคำว่า “ค่าจดจำนอง” กันมาบ้างแล้ว แต่เราก็เชื่ออีกเช่นเดียวกันว่ายังมีอีกหลายๆ คน ไม่รู้ว่าความหมายที่แท้จริงของคำๆ นี้ คืออะไร ? และมีความสำคัญอย่างไรต่อการซื้อ/ขายอสังหาฯ ? ดังนั้นในบทความนี้เราจึงจะขออาสาพาคุณไปพบกับความหมายของคำว่า “ค่าจดจำนอง” พร้อมกับรายละเอียดอื่นๆ ที่จะทำให้คุณได้รู้จักและเข้าใจกับคำๆ นี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าพร้อมแล้ว เราไปพบกับข้อมูลที่ทางทีมงานได้นำมาฝากพร้อมๆ กันเลย
ค่าจดจำนอง คือ อะไร ?
ค่าจดจำนอง คือ ค่าธรรมเนียมที่ทางกรมที่ดินได้เรียกเก็บกับผู้ที่นำทรัพย์ไปจำนองกับทางธนาคาร หรือสรุปแบบง่ายๆ ภาษาบ้านๆ เลยก็คือ ค่าธรรมเนียมที่กรมที่ดินเรียกเก็บจากผู้ที่ทำเรื่องขอกู้ซื้อบ้าน/ซื้อคอนโดกับทางธนาคาร เพราะฉะนั้นใครที่ซื้อบ้านหรือคอนโดด้วยเงินสดจะไม่ต้องพบเจอกับค่าจดจำนอง โดยการจดจำนองนั้นเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 บัญญัติว่า
“อันว่าจำนองนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่”
และในกรณีการซื้อคอนโดไม่ว่าจะเป็นมือ 1 หรือมือ 2 ผู้จดจำนองก็คือ "ผู้ซื้อ" ส่วนผู้รับจดจำนอง(ส่วนใหญ่)ก็คือ "ธนาคาร/สถาบันการเงิน" ที่ปล่อยสินเชื่อให้เราได้กู้ซื้อคอนโด ทั้งนี้การที่เราจะทำเรื่องขอกู้เงินเพื่อมาซื้อคอนโดที่มีมูลค่าสูงนั้น เราจำเป็นที่จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ดังนั้นมันจึงต้องมีหลักทรัพย์เพื่อนำมาค้ำประกัน ซึ่งหลักทรัพย์ที่ว่าก็คือคอนโดนั่นเอง โดยจะมีการทำ "หนังสือสัญญาจำนองกรรมสิทธิ์ห้องชุด" ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งภายในสัญญาจะระบุรายละเอียดต่างๆ ไว้ อาทิเช่น
และจะตามด้วยหนังสือแนบท้ายที่เรียกว่า "สัญญาสินเชื่อ" ซึ่งเอกสารทั้งหมดทั้งมวลทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจะเป็นผู้จัดทำ และผู้ซื้อจะต้องลงนามสัญญาฉบับนี้ต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินในวันโอนกรรมสิทธิ์และจำนองห้องชุดในคราวเดียวกัน
วิธีคิดคำนวณค่าจดจำนอง
ในช่วงที่ผ่านมาที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ต่อมาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง อสังหาริมทรัพย์ บ้านและคอนโดราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท (ในปี พ.ศ.2566) โดยมีรายละเอียดดังนี้
ลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ จากอัตราปกติ 2.00% เหลือ 1.00%
ลดค่าธรรมเนียมการจำนอง จากอัตราปกติ 1.00 % เหลือ 0.01%
ยกตัวอย่าง
ในกรณีที่คุณซื้อคอนโดใราคา 3 ล้านบาท
– ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ จากปกติต้องจ่าย 2% เป็นเงิน 60,000 บาท เมื่อลดเหลือ 1% จะจ่ายเพียง 30,000 บาท
– ค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ จากปกติต้องจ่าย 1% เป็นเงิน 30,000 บาท เมื่อลดเหลือ 0.01% จะจ่ายเพียง 300 บาท
ซึ่งสรุปแล้ว คุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองสำหรับการซื้อคอนโดราคา 3 ล้านบาท จากเดิมเป็นเงิน 90,000 บาท จะเหลือเพียง 30,300 บาท เท่านั้น
เราต้องจ่ายค่าจดจำนองเมื่อไหร่ ?
สำหรับการจ่ายค่าจดจำนองจะต้องจ่ายในวันที่โอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน เนื่องจากธุรกรรมทุกอย่างจะต้องจบภายในวันเดียว ตั้งแต่กระบวนการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับโครงการคอนโด ไปจนถึงกระบวนการจำนองระหว่างผู้ซื้อกับธนาคารตามลำดับ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับรายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับ “ค่าจดจำนอง” ที่ทางทีมงาน Propertyhub ได้นำมาฝาก ซึ่งเราก็หวังว่าข้อมูลต่างๆ ข้างต้น คงจะสามารถทำให้คุณเข้าใจในบริบทและความหมายของค่าจดจำนองได้มากยิ่งขึ้น และไว้โอกาสหน้าทางทีมงานจะนำข้อมูลดีๆ อะไรมาฝากคุณอีก คุณก็สามารถติดตามพวกเราได้ที่ Propertyhub Blog : บทความสำหรับชาวคอนโดยุคใหม่
และสำหรับใครที่ต้องการปล่อยเช่า/ขายคอนโด คุณก็สามารถมาลงประกาศได้ฟรีที่เว็บไซต์ Propertyhub