Propertyhub
propertyhub logo
Reviewคู่มือ/ซื้อ/ขาย/เช่าHome & LivingNewsนายหน้ามือโปร
ค้นหาบทความclock

กู้ซื้อบ้าน ไม่ทำประกันได้ไหม ? ไขข้อข้องใจได้ในบทความนี้

ซื้อคอนโดประกันซื้อบ้าน
BY
KAiiW.
โพสต์เมื่อ
27 February 2024

เมื่อกู้ซื้อบ้าน เราจำเป็นที่จะต้องทำประกันไหม ? ไม่ทำประกันได้หรือเปล่า ? เรียกได้ว่าคำถามเหล่านี้ได้กลายเป็นคำถามที่สร้างความสงสัยให้กับผู้ที่กำลังจะกู้ซื้อบ้านเป็นอย่างมาก เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในช่วงระยะเวลาในการขอสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อบ้าน หลาย ๆ คน มักจะได้รับคำแนะนำจากธนาคารให้ทำประกันในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะ ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้านและประกันอัคคีภัย จนเกิดความสับสนว่า...แท้ที่จริงแล้วการกู้ซื้อบ้านจำเป็นที่จะต้องทำประกันหรือไม่ ? ต้องทำประกันทุกตัวที่ทางธนาคารแนะนำหรือเปล่า ? หรือเรียกง่าย ๆ ว่าคำถามหลาย ๆ คำถามต่างพรั่งพรูออกมาเต็มไปหมดเกี่ยวกับการกู้ซื้อบ้านและการทำประกัน เพราะฉะนั้นแล้วทางทีมงาน Propertyhub จึงจะขอมาไขข้อข้องใจ เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า “กู้ซื้อบ้าน ไม่ทำประกันได้ไหม ?” ให้คุณได้หายสงสัยกัน

กู้ซื้อบ้าน ไม่ทำประกันได้ไหม ?

กู้ซื้อบ้านไม่ทำประกันได้ไหม ? คำตอบแบบง่าย ๆ สำหรับคำถามนี้เลยก็คือ “มีทั้งแบบที่ต้องทำ และ ไม่จำเป็นต้องทำ” โดยประกันหลัก ๆ ที่คุณมักจะได้พบเจอเมื่อไปทำเรื่องขอกู้สินเชื่อกับทางธนาคารประกอบไปด้วย...

ประกันอัคคีภัย (จำเป็นที่จะต้องทำ)

ประกันอัคคีภัย กู้ซื้อบ้าน ไม่ทำประกันได้ไหม ? ไขข้อข้องใจได้ในบทความนี้.jpg

ประกันอัคคีภัย คือ ประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายต่อบ้านและทรัพย์สินจากเหตุไฟไหม้และภัยอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งประกันอัคคีภัย คือ ประกันภัยภาคบังคับและจำเป็นจะต้องทำ เนื่องจากในการขอกู้สินเชื่อบ้าน ผู้ซื้อจะต้องนำเอาบ้านมาเป็นหลักค้ำประกันให้กับทางธนาคารที่ยื่นขอกู้ซื้อบ้าน ดังนั้นทางธนาคารจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ซื้อทำประกันอัคคีภัยเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินที่อาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นในอนาคต เพราะว่าอย่างน้อย ๆ หากเกิดเหตุการณ์เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ฟ้าผ่า กับตัวบ้านขึ้นมา ประกันตัวนี้ก็จะช่วยชดเชยค่าเสียหายต่าง ๆ ให้นั่นเอง ทั้งนี้ประกันอัคคีภัยจะให้ความคุ้มครองกับสิ่งปลูกสร้าง(ไม่รวมรากฐาน) ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด คอนโดมิเนียม ตึกแถว ฯลฯ รวมไปถึงทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์, เครื่องตกแต่ง, เครื่องใช้ภายในบ้าน, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน, เครื่องครัว, เครื่องนุ่งห่มและทรัพย์สินอื่น ๆ เพื่อการอยู่อาศัย โดยจะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านและทรัพย์สินจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนี้...

  1. ไฟไหม้
  2. ฟ้าผ่า (รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า)
  3. ภัยระเบิด
  4. ภัยจากการเฉี่ยวหรือการชนของยานพาหนะ หรือสัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
  5. ภัยจากอากาศยาน และหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน รวมถึงจรวดซึ่งขับเคลื่อนด้วยตัวเองและยานอวกาศ ยกเว้นจรวดที่เป็นอาวุธ

ทั้งนี้คุณยังสามารถซื้อความคุ้มครองในส่วนภัยพิบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมที่นอกเหนือจากกรมธรรม์ได้ เช่น

  • ภัยเนื่องจากน้ำ อันเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุจากการปล่อยการรั่วไหล หรือการล้นออกมาของน้ำหรือไอน้ำ จากท่อน้ำ ถังน้ำ ระบบทำความร้อน ระบบทำความเย็น ระบบปรับอากาศ เครื่องสูบน้ำ และรวมถึงน้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปภายในอาคารจากการเสียหายของหลังคา หน้าต่าง ประตู วงกบประตูหน้าต่าง ช่องลม ช่องรับแสงสว่าง ท่อน้ำหรือรางน้ำ
  • ภัยจากลมพายุ
  • ภัยจากน้ำท่วม หมายถึง น้ำซึ่งไหลล้นหรือไหลออกจากทางน้ำปกติซึ่งจะเป็นทางน้ำธรรมชาติ หรือจะเป็นทางน้ำที่สร้างขึ้นก็ดี (ไม่รวมถึงรางน้ำบนหลังคา) หรือเกิดจากท่อน้ำสาธารณะแตก ทำให้เกิดการท่วมของน้ำจากภายนอกของอาคารที่เอาประกันภัยไว้ หรืออาคารที่เก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ รวมถึงน้ำท่วมอันเกิดจากลมพายุ น้ำป่า และโคลนถล่ม
  • ภัยจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ หรือสึนามิ ที่มีสาเหตุจากธรรมชาติ และให้หมายความรวมถึงน้ำท่วม อันมีสาเหตุจากแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด ที่มีสาเหตุจากธรรมชาติ ทั้งนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายโดยตรงหรือโดยทางอ้อม ที่เกิดจากภัยแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดอันเกิดจากวัตถุใด ๆ จากอวกาศ
  • ภัยจากลูกเห็บ ให้หมายความรวมถึง น้ำฝน น้ำค้างแข็ง หิมะ ทราย หรือ ฝุ่นละอองดังกล่าวไหลผ่านเข้าไปในอาคาร ตามร่องแตกร้าวของอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่ได้รับความเสียหายอันเกิดจากลูกเห็บโดยตรงเท่านั้น หรือน้ำจากเครื่องพรมน้ำหรือท่อน้ำอื่น ๆ ที่เกิดเสียหายขึ้นเนื่องจากลูกเห็บโดยตรง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมประกันวินาศภัยไทย

ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน (ไม่จำเป็นที่จะต้องทำก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ)

ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน กู้ซื้อบ้าน ไม่ทำประกันได้ไหม ? ไขข้อข้องใจได้ในบทความนี้.jpg

ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ หรือ ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน (Mortgage Reducing Term Assurance : MRTA ) เป็นประกันชีวิตที่จะให้ความคุ้มครองกับผู้ขอสินเชื่อ ในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรในขณะที่กำลังผ่อนชำระสินเชื่อบ้านอยู่ บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบชำระหนี้ที่เหลือให้แก่ธนาคาร (สำหรับวงเงินที่ประกันจะคุ้มครอง ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่ผู้ขอสินเชื่อเป็นผู้เลือก บางกรณีคุ้มครองวงเงินกู้ 100% บางกรณีคุ้มครอง 80% เป็นต้น) ซึ่งประกันประเภทนี้คุณสามารถ “ทำหรือไม่ทำก็ได้ตามสะดวก ไม่มีข้อบังคับ” ซึ่งถ้าหากคุณตัดสินใจไม่ทำก็ไม่ได้ส่งผลต่อการอนุมัติสินเชื่อใด ๆ ทั้งสิ้น

แต่เหตุผลที่หลาย ๆ คน ตัดสินใจทำประกันประเภทนี้ก็เพราะว่า หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา เสาหลักของครอบครัวหรือผู้ที่รับหน้าที่ผ่อนบ้านในทุก ๆ เดือน เสียชีวิตหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถทำงานหาเงินได้ ทางครอบครัวจะได้มีเงินจากการทำประกันชีวิตเอามาผ่อนบ้านต่อ ไม่ต้องถูกทางธนาคารยึดบ้านนั่นเอง

จากข้อมูลทั้งหมดที่เราได้กล่าวไปเมื่อข้างต้นคงพอจะทำให้คุณได้คำตอบแล้วใช่ไหมล่ะว่า กู้ซื้อบ้าน ไม่ทำประกันได้ไหม ? ซึ่งคำตอบของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้านเพราะไม่มีการบังคับ จะทำหรือไม่ทำก็ได้ตามความสมัครใจ แต่ท้ายที่สุดแล้วทั้งประกันอัคคีภัยและประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้าน ต่างก็มีจุดประสงค์หลักในการช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ และบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับทั้งบ้านและตัวคุณเองในอนาคต ซึ่งถ้าหากคุณลองคิดพิจารณาให้ดี ว่าถ้าหากเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นมาและคุณไม่ได้ทำประกันอัคคีภัยเอาไว้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเป็นมูลค่าเท่าไหร่ที่คุณจะต้องสูญเสีย หรือหากเสาหลักของครอบครัวเกิดจากไปแบบกะทันหัน ครอบครัวจะนำเงินที่ไหนมาผ่อนบ้านต่อหากไม่ได้ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน ดังนั้นประกันทั้ง 2 รูปแบบ จึงมีความสำคัญและควรค่าจะต้องทำเอาไว้เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับคุณและครอบครัว

และสำหรับใครที่กำลังมองหาโครงการคอนโด บ้านเดี่ยว หรือที่ดินทำเลสวย คุณก็สามารถเข้ามาค้นหาได้ที่ Propertyhub เว็บรวมประกาศ คอนโด บ้าน ที่ดิน ที่ครบและใช้งานง่ายมากที่สุด : Best Thailand property marketplace for condos, homes, and land. Create your free listing now!

แชร์เนื้อหา
KAiiW.
ช่องทางในการติดตาม
LINE@ Add Friend
บทความที่เกี่ยวข้อง

อยากรีโนเวทตึกแถวและอาคารพาณิชย์ ต้องรู้อะไรบ้าง ?

สำหรับคนที่มีแพลนจะรีโนเวทตึกแถวและอาคารพาณิชย์ บทความนี้ก็คงจะเป็นประโยชน์ให้กับคุณได้ไม่มากก็น้อย เพราะว่าเราได้รวบรวมข้อมูลที่คุณจำเป็นจะต้องรู้ก่อนตัดสินใจรีโนเวทตึกแถวและอาคารพาณิชย์มาฝาก เนื่องจากการรีโนเวทอสังหาฯ ทั้งสองประเภทนี้มีความซับซ้อนอยู่พอสมควร ซึ่งถ้าหากไม่มีการวางแผนอย่างรอบคอบ ก็อาจจะทำให้มีปัญหาต่าง ๆ ตามมาในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นในเชิงโครงสร้างตัวอาคาร ข้อจำกัดของกฎหมาย ฯลฯ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปพบกับข้อมูลที่น่าสนใจนี้พร้อม ๆ กันเลย

โพสต์เมื่อ12 September 2024

ขายฝาก vs จำนอง แตกต่างกันอย่างไร ?

สำหรับการขายฝากและการจำนองนั้น หากมองแบบผิวเผินแล้วเราก็เชื่อเหลือเกินว่าหลายๆ คน ยังคงแยกนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบนี้ไม่ออก จนทำให้เกิดความสับสนในการตัดสินใจเลือกทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นในบทความนี้ทางทีมงาน Propertyhub จึงจะขอนำข้อมูลรายละเอียดและความแตกต่างของการขายฝากและการจำนองมาอธิบายในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ให้คุณได้ทำความเข้าใจกัน ซึ่งถ้าพร้อมแล้วเราไปพบกับข้อมูลที่น่าสนใจนี้พร้อมๆ กันเลย

โพสต์เมื่อ09 September 2024

การเขียนสัญญาเช่าบ้านและคอนโด ให้รัดกุมไม่ต้องมานั่งกลุ้มใจในภายหลัง

การทำสัญญาเช่าบ้านหรือคอนโดถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากสำหรับทั้งผู้ให้เช่าและผู้เช่า เพราะการที่สัญญามีความชัดเจนและรัดกุม จะช่วยให้การปล่อยเช่าเป็นไปอย่างราบรื่น ทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายและไม่ต้องมานั่งกลุ้มใจในภายหลัง และยังจะช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ข้อพิพาทเรื่องค่าเช่า การบำรุงรักษาทรัพย์สิน หรือสิทธิในการบอกเลิกสัญญา ซึ่งในวันนี้เราจึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนสัญญาเช่าบ้านและคอนโดมาฝาก ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย

โพสต์เมื่อ06 September 2024

การรังวัดที่ดิน คืออะไร ? มีขั้นตอนและเอกสารอะไรบ้าง ?

หากมีการทำธุรกรรมซื้อ - ขายที่ดิน แน่นอนว่าคุณจะต้องเคยได้ยินคำว่า “การรังวัดที่ดิน” ผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง ซึ่งการรังวัดที่ดินนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่จะต้องตรวจสอบให้ละเอียดและมีความสำคัญไม่แพ้กับโฉนดที่ดินเลยแม้แต่น้อย เพราะถ้าหากไม่ตรวจสอบและเกิดปัญหารังวัดที่ดินไม่ตรงกับโฉนดขึ้นมา นั่นก็จะเท่ากับว่าการซื้อ - ขายที่ดินจะต้องมีปัญหาตามมาแน่ ๆ แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่ารังวัดที่ดินคืออะไร ? ต้องทำยื่นเรื่องหรือใช้เอกสารอะไรบ้าง ? ฯลฯ วันนี้ทีมงาน Propertyhub ก็ได้รวบรวมรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับรังวัดที่ดินแบบฉบับสมบูรณ์มาฝากให้คุณได้ศึกษากัน

โพสต์เมื่อ06 September 2024

บทความแนะนำ

ขั้นตอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า ต้องทำอย่างไรกันนะ ?

ขั้นตอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า ต้องทำอย่างไรกันนะ ?

สำหรับใครที่กำลังจะไปทำเรื่อง “ขอเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า” บทความนี้ก็คงจะเป็นประโยชน์กับคุณอย่างแน่นอน เพราะว่าเราได้รวบรวมขั้นตอนการยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า พร้อมกับลิสต์รายชื่อเอกสารที่คุณจะต้องจัดเตรียมมาฝาก

โพสต์เมื่อ25 February 2023
วิธีตรวจสอบ “ราคาประเมินคอนโดออนไลน์” แบบไม่ต้องไปถึงกรมที่ดิน

วิธีตรวจสอบ “ราคาประเมินคอนโดออนไลน์” แบบไม่ต้องไปถึงกรมที่ดิน

ปัจจุบันนี้คุณสามารถเช็คราคาประเมินคอนโดทางออนไลน์ได้แล้ว และที่สำคัญเลยก็คือใช้งานง่าย เช็คราคาประเมินได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาและค่าเดินทางไปยังกรมที่ดิน เพราะฉะนั้นทางทีมงาน Propertyhub จึงจะขอนำวิธีตรวจสอบ “ราคาประเมินคอนโดออนไลน์” มาฝาก

โพสต์เมื่อ16 January 2023
รวมขั้นตอนการรับโอนคอนโด พร้อมเอกสารการโอนที่ต้องจัดเตรียม

รวมขั้นตอนการรับโอนคอนโด พร้อมเอกสารการโอนที่ต้องจัดเตรียม

ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์อย่างคอนโดนั้น นอกเหนือจากราคาขายคอนโดแล้ว สิ่งที่ต้องทราบนอกเหนือจากนี้ก็คือเรื่องของ ขั้นตอนต่างๆ ที่ผู้ซื้อทุกรายจะต้องทำความเข้าใจ เพราะไม่ว่าจะเป็นการ ซื้อคอนโด มือหนึ่งจากผู้พัฒนาโครงการ หรือการซื้อคอนโดมือสองต่อจากผู้เป็นเจ้าของก็ตาม ขั้นตอนของการ โอนคอนโด คือเรื่องที่จะสร้างความปวดหัวไม่น้อยสำหรับใครที่ไม่เคยทำความเข้าใจมาก่อน

โพสต์เมื่อ18 August 2021

คอนโดให้เช่ายอดนิยม

propertyhub logo

เมนูหลัก

ติดต่อเรา

บริษัท ซิมเปิ้ล อินเทอร์เน็ต
จํากัด เลขที่ 242 ห้องเลขที่ A210 อาคาร A
ศูนย์การค้าเพลินนารี่มอลล์
ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน
กรุงเทพมหานคร 10230
Line QrCode
Line ID : @propertyhub
โทร. 02-026-3049

support@propertyhub.in.th

Line QrCode
Line ID : @propertyhub
โทร. 02-026-3049

support@propertyhub.in.th

twitter icon
youtube icon
instagram icon
Copyright © 2019-2020 Zimple Internet Co., Ltd. , All rights reserved.
facebook icon
twitter icon
youtube icon
instagram icon