ช่วงนี้มีฝนตกหนักจนส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายๆ พื้นที่ หากเราเป็นผู้ที่ต้องสัญจนในเส้นทางที่มีน้ำท่วมขังอยู่ แน่นอนว่าหากเป็นรถยนต์ไม่ว่าของตนเองหรือของผู้อื่น เรามักจะกังวลถีงความเสียหายอย่างแน่นอน และการรู้จักวิธีที่ดี เมื่อเจอกับสถานการณ์จำเป็นที่จะต้องขับรถลุยน้ำ ก็จะทำให้เรารับมือหรือเลือกหนทางที่ดีได้
วิธีขับรถลุยน้ำท่วมให้ปลอดภัย
ลดความเร็วก่อนถึงพื้นที่น้ำท่วม สังเกตุเส้นทางและรถยนต์คันอื่นๆ
หากคุณขับรถมาด้วยความเร็วและลุยน้ำท่วมไปเลย อาจทำให้เสียการทรงตัวและควบคุมรถได้ยาก และที่สำคัญที่สุดหากเป็นเส้นทางที่คุณไม่คุ้นเคย ยิ่งที่ให้คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะหลุดออกนอกเส้นทางและเกิดอุบัติเหตุได้
ประเมิณระดับความลึกของน้ำ และเส้นทางที่จะต้องขับผ่าน?
สำหรับระดับน้ำถ้าคุณขับรถเก๋ง ความสูงของน้ำควรไม่เกิน 30 ซม. หรือประมาณครึ่งล้อ หากสูงกว่านั้นจะเสี่ยงที่เครื่องดับ หรือในรถขนาดเล็กคุณอาจจะลอยน้ำได้ การสังเกตุจากรถคันข้างหน้าสามารถช่วยให้คุณมั่นใจ และขับตามเส้นทางนั้นได้เช่นกัน แต่ไม่ควรขับใกล้เกินไปนะ
ปิดระบบเครื่องปรับอากาศในรถยนต์
คุณต้องปิดระบบปรับอากาศภายในรถยนต์พร้อมเปิดกระจกระบายอากาศ เนื่องจากการทำงานของระบบแอร์รถยนต์นั้นใช้ใบพัด และใบพัดอาจทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์ หรือเข้าระบบไฟฟ้าของรถคุณได้
ใช้เกียร์ต่ำ (1-2)
ขณะที่คุณขับรถลุยน้ำท่วมอยู่ ให้ใช้เกียร์ต่ำ ที่ 1 - 2 สำหรับการเดินเบาและรักษาอัตราเร่งไว้ให้ได้ประมาณ 1,500-2,000 รอบ ต่ำกว่านี้เครื่องอาจดับได้ และหากสูงกว่านี้อาจจะดูดอากาศและน้ำเข้าไปเครื่อง
สังเกตุการณ์ และเว้นระยะห่างจากรถคันหน้า
เพราะระบบเบรกอยู่ในระดับเดียวกับน้ำ ซึ่งอาจทำให้มีประสิทธิภาพในการเบรคลดลง เมื่อขับพ้นน้ำแล้วให้ขับช้า ๆ และเหยียบเบรคเป็นช่วง ๆ เพื่อให้ผ้าเบรกแห้ง ถ้าดิสเบรคจะแห้งเร็ว แต่ถ้าดรัมเบรคจะแห้งช้ากว่า จุดนี้ควรระวังให้ดีนะครับ
หากเครื่องดับกลางน้ำอย่าสตาร์ทเครื่องยนต์
ข้อนี้หากคุณไม่รู้ อาจทำให้รถยนต์ของคุณเสียหายหนักมาก หากรถยนต์ของคุณดับระหว่างลุยน้ำท่วมอย่าสตาร์ทเครื่องยนต์เด็ดขาดเพราะอาจทำให้เครื่องยนต์ของคุณนั้นสำลักน้ำ สิ่งที่ควรปฏิบัติคือ การออกจากรถ ขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อเคลื่อนย้ายรถของคุณให้พ้นจากพื้นที่น้ำท่วมก่อน แล้วจึงลองสตารท์รถยนต์ของคุณดูใหม่
หากคุณอยากมั่นใจก่อนที่จะสตารท์เครื่องต์อีกครั้งหลังจากที่เครื่องดับกลางน้ำ เมื่อนำรถไปยังที่แห้งได้แล้ว ให้เปิดฝากระโปรงรถเพื่อเช็คสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์ดับ โดยสังเกตได้จากจากหม้อกรองอากาศ เปิดฝาออกและดูแผ่นกรองว่ายังแห้งอยู่ไหม ถ้ายังแห้งอยู่ถือว่าดีครับ สาเหตุการดับอาจเกิดจากการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าหรืออื่นๆ แต่หากแผ่นกรองเปียก แน่นอนว่าเกิดจากน้ำที่เข้าไปยังระบบกรอง หากเป็นกรณีนี้อย่าสตาร์ทครับ ให้แจ้งศูนย์หรือเรียกรถยกเลยครับ
เมื่อลุยผ่านน้ำท่วมมาได้แล้วอย่าเพิ่งนิ่งนอนใจนะครับ คุณควรสังเกตุรถยนต์ของคุณให้ดี เพื่อลดปัญหาที่อาจจะตามมาครับ
วิธีดูแลรถยนต์หลังขับลุยน้ำท่วมมา
ทดสอบการเบรคของรถ
ส่วนนี้อาจไม่ใช่จุดที่เสียหายหนัก แต่เป็นจุดอันตรายที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุอื่นๆได้ คุณควรใช้เบรคบ่อยๆ หลังพ้นจากน้ำ เพื่อทำให้ชุดเบครของคุณนั้นแห้ง หรือกลับมาใช้งานได้ปกติ
สังเกตเครื่องยนต์ว่าปกติหรือไม่
แม้ว่ารถยนต์ของคุณจะไม่ได้ดับกลางน้ำท่วม แต่อาจมีปัญหาตามมาในภายหลังได้อยู่บ้าง เช่นเครื่องยนต์กระตุก หรืออาการอื่นๆ ที่คุณสามารถสัมผัสได้จากการขับรถยนต์ของคุณ อย่างแรกเลยให้ลองวัดระดับน้ำมันเครื่องของคุณ หากพบว่ามีสีที่ขุ่นหรือผิดปกติไปอาจมีอาการน้ำเข้าไปในเครื่องได้ ส่วนที่สอง หรือเป็นการลุยน้ำสูง คุณควรตรวจสอบกรองอากาศของคุณเพื่อมั่นใจว่าน้ำยังไม่ได้เข้าเครื่อง
ตรวจสอบระบบไฟ
นี่เป็นอีกส่วนที่อาจมีปัญหาได้ คุณสามารถสังเกตุได้จากแบตเตอรี่ ฟิวส์ และกล่องอีซียู หรือระบบไฟต่างๆ ว่ามีการเปียกน้ำไหม เช็ดให้แห้ง และดูให้แน่ใจว่ารถยังปกติอยู่ รวมถึงรถบบไฟภายนอกด้วยเช่นกัน ไฟหน้า ไฟเลี้ยง และไฟเบรค
ตรวจสอบห้องโดยสาร
ภายในห้องโดยสารบางครั้งอาจมีน้ำเข้ามาด้านในได้ ผ่านตามส่วนที่เป็นซีลและรอยต่อต่างๆ ดังนั้นจึงควรนำพรมปูพื้นออกหากรู้สึกว่าด้านใต้พรมมีน้ำแฉะ คุณไม่ควรทิ้งให้น้ำขังอยู่ภายในรถ ควรดูดหรือเช็ดน้ำออก และทำให้แห้งทันที และไม่ให้รถยนต์ของคุณนั้นมีความชื้น หากไม่มีการตรวจสอบแล้วปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้สถาะห้องโดยสารของคุณมีกลิ่น และสถาพที่เสียหายจากเชื้อราได้
และทั้งหมดนี้ ก็เป็นข้อควรปฏิบัติที่ทางทีมงาน Propertyhub ได้รวบรวมมาน้ำเสนอให้กับผู้อ่านทุกๆ ท่านนะครับ อย่างไรหากเป็นไปได้หลีกเลี่ยงที่จะขับรถลุยน้ำกันดีกว่านะครับ เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและทรัพย์สิน
และหากท่านกำลังมองหาคอนโดเพื่อพักอาศัย หรือลงทุนอยู่ละก็ www.propertyhub.in.th เรามีคอนโดทุกโครงการที่คุณตามหา ครบทุกย่าน ทุกทำเล กว่า 4,000 โครงการทั่วไทยนะครับ