Propertyhub
propertyhub logo
Reviewคู่มือ/ซื้อ/ขาย/เช่าHome & LivingNewsนายหน้ามือโปร
ค้นหาบทความclock

รวมมาให้แล้ว ลดหย่อนภาษี 2567 มีอะไรบ้าง ?

ภาษี
BY
KAiiW.
โพสต์เมื่อ
02 July 2024

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับรายการค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีในปี 2567 บทความนี้ก็คงจะเป็นประโยชน์ให้กับคุณได้ไม่มากก็น้อย เพราะว่าเราได้รวบรวมรายการลดหย่อนภาษี 2567 มาให้แบบครบทุกหมวดหมู่ เพื่อที่คุณจะได้นำไปวางแผนการยื่นภาษีในช่วงต้นปี 2568 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากขึ้น แถมยังจะได้ใช้สิทธิประโยชน์จากตัวลดหย่อนได้เร็วขึ้นอีกด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปพบกับรายการลดหย่อนภาษีปี 2567 พร้อม ๆ กันเลย

 

1. ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

ลดหย่อนภาษี 2567 ส่วนตัวและครอบครัว.jpg

1.1 ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว

ลดหย่อนได้ 60,000 บาท และสิทธินี้ชาวไทยทุกคนใช้ได้หมดไม่ว่าจะอยู่ในสถานะโสด, แต่งงานแบบจดทะเบียนสมรส หรือไม่ได้จดทะเบียนก็ตาม

1.2 ค่าลดหย่อนภาษีคู่สมรส

คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายและเป็นผู้ที่ไม่มีรายได้ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้จำนวน 60,000 บาท แต่กรณีที่คู่สมรสเป็นผู้มีเงินได้ สามารถเลือกยื่นภาษีแยกหรือรวมกันได้

1.3 ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร

ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาทต่อการตั้งครรภ์ หากเป็นการตั้งครรภ์แฝด จะนับเป็น 1 การตั้งครรภ์เท่านั้น โดยจะต้องมีเอกสารมาแสดง คือ ใบรับรองแพทย์ที่แสดงความเห็นว่ามีภาวะตั้งครรภ์ และใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่น ๆ ที่ได้จ่ายให้สถานพยาบาล ใช้สิทธิได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน

1.4 ค่าลดหย่อนภาษีบุตร 

ครอบครัวไหนมีลูกหลายคนได้เปรียบแน่นอน เพราะลดหย่อนภาษีได้ถึงคนละ 30,000 บาท หากเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ถ้าเป็นบุตรบุญธรรม สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • อายุไม่เกิน 20 ปี
  • ถ้าอายุ 21 – 25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
  • บุตรมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี
  • กรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป จะสามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

1.5 ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส

บิดา มารดา ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สามารถนำมาลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยบิดา มารดาต้องมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท และในกรณีที่ยื่นรายได้รวมกับคู่สมรส สามารถนำบิดาและมารดาของคู่สมรสมาหักลดหย่อนได้ด้วย สูงสุดคือ 4 คน

ทั้งนี้มีเงื่อนไขเพิ่มเติม คือ หากในครอบครัวมีบุตรหลายคนที่อุปการะบิดาหรือมารดา บุตรแต่ละคนจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบิดา มารดาได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ไม่สามารถใช้ซ้ำซ้อนได้ และต้องมีหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ล.ย.03) ส่วนบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิหักลดหย่อนในส่วนนี้

1.6 สิทธิลดหย่อนสำหรับอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ

หากผู้มีเงินได้อุปการะเลี้ยงดูคนพิการ/ทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน โดยคนพิการ/ทุพพลภาพนั้น มีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท มีบัตรประจำตัวผู้พิการ และผู้มีเงินได้มีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะจะได้รับสิทธิลดหย่อน 60,000 บาท
และในกรณีผู้พิการ/ทุพพลภาพ เป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร จะได้รับสิทธิลดหย่อนทั้ง 2 ส่วน และได้รับสิทธิทุกคนโดยไม่จำกัด แต่หากไม่ได้มีความสัมพันธ์นี้กับผู้มีเงินได้ จะได้รับสิทธิลดหย่อนเพียงแค่ 1 คนเท่านั้น

 

2. ลดหย่อนภาษีจากการออม การลงทุนและประกันชีวิต

ลดหย่อนภาษี 2567 จากการออม การลงทุนและประกันชีวิต.jpg

2.1 เบี้ยประกันชีวิต และเบี้ยประกันแบบสะสมทรัพย์

สามารถลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท และต้องเป็นประกันชีวิตที่ทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น และกรมธรรม์ต้องมีกำหนดเวลา 10 ปีขึ้นไป โดยหากมีผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี (ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์) ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี

2.2 เบี้ยประกันสุขภาพ

สามารถลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันแบบสะสมทรัพย์แล้ว จะต้องไม่เกิน 100,000 บาท

2.3 เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

สิทธิลดหย่อนนี้สามารถใช้สิทธิได้ทั้งบิดามารดาของตนเอง และคู่สมรส โดยจะได้สิทธิลดหย่อนตามจริง แต่เมื่อนำค่าเบี้ยประกันสุขภาพรวมกัน ทั้งของบิดาและมารดาต้องไม่เกิน 15,000 บาท โดยบิดา มารดาจะต้องมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท และบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิลดหย่อนภาษีในส่วนนี้เช่นกัน

2.4 เบี้ยประกันชีวิตและประกันชีวิตแบบบำนาญของคู่สมรส

หากในปีภาษีนั้น ๆ คู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถนำเบี้ยประกันของคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้สูงสูด 10,000 บาท

2.5 เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

เงินสมทบกองทุนประกันสังคม สามารถแบ่งได้ตามมาตรา คือ

  • มาตรา 33 หักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท (ผู้ที่ทำงานประจำ)
  • มาตรา 39 หักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5,184 บาท
  • มาตรา 40 หักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 840 (ทางเลือกที่ 1), 1,200 (ทางเลือกที่ 2) และ 3,600 (ทางเลือกที่ 3)

2.6 เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

สามารถนำมาหักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ เฉพาะของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ และเมื่อรวมกับการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

2.7 เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

กองทุนนี้เป็นกองทุนสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระเท่านั้น สามารถหักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

2.8 เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

สามารถลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท และต้องเป็นประกันชีวิตที่ทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น และกรมธรรม์ต้องมีกำหนดเวลา 10 ปีขึ้นไป และเมื่อรวมกับการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ทั้งนี้กรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ได้ทำประกันชีวิตแบบทั่วไป จะสามารถนำเบี้ยประกันแบบบำนาญไปหักลดหย่อนในส่วนนี้ได้ก่อน หรือหากใช้เบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนไปแล้ว แต่ยังไม่เกิน 100,000 บาท ก็สามารถนำเบี้ยประกันแบบบำนาญไปหักให้เต็มจำนวน 100,000 บาทได้ก่อน ส่วนที่เหลือจะสามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนได้เพิ่มอีกสูงสุด 15% ของรายได้

2.9 เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)

สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งจะต้องลงทุนในธุรกิจ หรือลงทุนในหุ้นของธุรกิจที่ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 ซึ่งหากเป็นการลงทุนในหุ้น จะต้องถือหุ้นของวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้น ๆ จนกว่าจะเลิกกิจการ

2.10 ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

การลงทุนในกองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของรายได้ และต้องไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

2.11 ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

การลงทุนในกองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของรายได้ และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

**อัปเดตข้อมูลเดือนมีนาคม 2567 จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้จนถึงปี 2567

2.12 ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)

การลงทุนในกองทุน Thai ESG ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2575 สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของรายได้ และสูงสุดต้องไม่เกิน 100,000 บาท

 

3. ลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค

ลดหย่อนภาษี 2567 ด้วยเงินบริจาค .jpg

3.1 เงินบริจาคทั่วไป

สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน

3.2 เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ

สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน

3.3 เงินบริจาคพรรคการเมือง

สามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท โดยจะต้องมีเอกสารมาแสดง คือใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานอื่นใดที่พิสูจน์ได้ถึงการบริจาคให้พรรคการเมืองดังกล่าว

 

4. ลดหย่อนภาษีจากมาตรการรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ลดหย่อนภาษี 2567 จากมาตรการรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ.jpg

4.1 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยต้องมีหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกำหนด

4.2 โครงการ Easy e-Receipt

ค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567 สามารถนำใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงรวม VAT แต่สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท และจะต้องเป็นสินค้าที่มีใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ตามระบบของกรมสรรพากรเท่านั้น

4.3 โครงการเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด

สามารถนำค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือค่าที่พักในโรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์หรือค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวใน “จังหวัดท่องเที่ยวรอง” ได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15,000 บาท หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตั้งแต่ 1 พ.ค. ถึง 30 พ.ย. 2567 ซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว (Low Season)

: สรุป "มาตราการลดหย่อนภาษี เที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด" ลดสูงสุด 15,000 บาท

 

รายละเอียดทั้งหมดข้างต้น เป็นรายการลดหย่อนภาษีปี 2567 ตามที่กฎหมายกำหนด ว่าให้สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ เพราะฉะนั้นหากคุณมีการวางแผนในเรื่องของภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยทำให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยและประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้อีกหลายบาทเลยทีเดียว และไว้โอกาสหน้าเราจะนำข้อมูลดี ๆ อะไรมาฝากอีก คุณก็สามารถติดตามได้ที่ Propertyhub Blog บทความที่รวมทุกเรื่องราวของชาวอสังหาฯ 

แชร์เนื้อหา
KAiiW.
ช่องทางในการติดตาม
LINE@ Add Friend
บทความที่เกี่ยวข้อง

เปิดฤกษ์ดีย้ายเข้าบ้านและคอนโด ปี 2568

สำหรับใครที่กำลังมีแพลนจะย้ายบ้านย้ายคอนโดในปี 2568 และกำลังมองหาฤกษ์ดีที่อยู่แล้วรวยอยู่แล้วปังอยู่ล่ะก็ วันนี้ทางทีมงาน Propertyhub ก็ได้รวบรวมฤกษ์ดีย้ายเข้าบ้านและคอนโดในปี 2568 มาฝาก

โพสต์เมื่อ20 November 2024

อัปเดต ปฏิทินวันหยุด ปี 2568

ในปี 2568 ที่กำลังจะมาถึง การวางแผนวันหยุดถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญของใครหลาย ๆ คน เพราะไม่ว่าจะเป็นการวางแผนไปเที่ยวต่างประเทศ ไปเที่ยวต่างจังหวัด ไปพักผ่อนหรือการใช้เวลาร่วมกับครอบครัว ต่างก็ต้องรู้วันหยุดล่วงหน้า เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียวันลาและขาดงานโดยใช่เหตุ ฉะนั้นวันนี้ทางทีมงาน Propertyhub จึงจะขอมาอัปเดตปฏิทินวันหยุด ปี 2568 เพื่อที่จะช่วยให้คุณได้วางแผนการท่องเที่ยวหรือลางานเอาไว้ล่วงหน้า

โพสต์เมื่อ15 November 2024

รวมไอเดียแต่งบ้าน Cool Tone โทนเย็นสบายตา อยู่แล้วสบายใจ

รวมไอเดียแต่งบ้านด้วยโทนเย็น(Cool Tone) สำหรับเจ้าของบ้านที่ต้องการปรับเปลี่ยนบรรยากาศภายในบ้านเย็นสบายมากขึ้น โดยสีโทนเย็นก็มีให้เลือกมากมาย เช่น โทนสีฟ้า สีเขียว หรือสีม่วง ซึ่งป็นสีที่ให้ความรู้สึกร่มรื่น เย็นสบาย เสมือนอยู่ท่ามกลางบ้านพักตากอากาศริมทะเล หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านทุกท่านมีแนวคิดใหม่ ๆ ไปปรับใช้ในการตกแต่งหรือออกแบบบ้านของตัวเองให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นนะคะ

โพสต์เมื่อ13 November 2024

รู้ก่อนแก้ก่อน! ปีชง 2568 วิธีเสริมดวงแก้ชงตามปีนักษัตร

ในบทความนี้เราก็ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับปีชง 2568 มาฝาก ว่าปีนักกษัตรไหนที่ชงบ้าง ? วิธีแก้ปีชงต้องทำอย่างไร ? ต้องไปแก้ปีชงที่ไหน ? เพื่อให้ผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นปีชง 2568 ได้ผ่านพ้นปีนี้ไปได้อย่างราบรื่น จากที่ต้องเจอเคราะห์หนักจะได้กลับกลายเป็นเบา แถมยังช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตอีกด้วย

โพสต์เมื่อ08 November 2024

บทความแนะนำ

“วิธีจ่ายประกันสังคมด้วยตัวเอง” ทำยังไงกันนะ ?

“วิธีจ่ายประกันสังคมด้วยตัวเอง” ทำยังไงกันนะ ?

ในปัจจุบันนี้การจ่ายเงินประกันสังคมด้วยตัวเองสามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ซึ่งช่องทางการจ่ายเงินประกันสังคมด้วยตัวเองจะมีช่องทางไหนบ้างนั้น เราไปติดตามข้อมูลที่ทางทีมงาน Propertyhub นำมาฝากพร้อมๆ กันเลย

โพสต์เมื่อ17 November 2022
สรุปวิธีไป “เยาวราช/สำเพ็ง/พาหุรัด” ด้วยรถสาธารณะ

สรุปวิธีไป “เยาวราช/สำเพ็ง/พาหุรัด” ด้วยรถสาธารณะ

ใครอยากจะไปช็อปปิ้งที่สำเพ็ง/พารุรัด พร้อมกับแวะกินของอร่อยที่เยาวราช แต่! ไม่รู้จะเดินทางไปยังไงดี เราก็บอกได้เลยว่าบทความนี้มีคำตอบ! เพราะวันนี้ทีมงาน Propertyhub ได้รวบรวมวิธีไปเยาวราช สำเพ็งและพาหุรัด ด้วยรถสาธารณะมาฝาก!

โพสต์เมื่อ03 August 2022
รวมวิธีเดินทางไป “ไอคอนสยาม” ฉบับอัปเดตล่าสุด

รวมวิธีเดินทางไป “ไอคอนสยาม” ฉบับอัปเดตล่าสุด

ในวันนี้ทางทีมงาน Propertyhub ได้รวบรวม “วิธีเดินทางไปยังไอคอนสยาม” ฉบับอัปเดตล่าสุดมาฝาก ซึ่งรับประกันเลยว่าเดินทางง่าย ไม่ซับซ้อนและเดินทางไปถึงไอคอนสยามได้อย่างแน่นอน ซึ่งถ้าพร้อมแล้วเราไปพบกับวิธีเดินทางไปไอคอนสยามพร้อมๆ กันเลย

โพสต์เมื่อ27 January 2023

คอนโดให้เช่ายอดนิยม

propertyhub logo

เมนูหลัก

ติดต่อเรา

บริษัท ซิมเปิ้ล อินเทอร์เน็ต
จํากัด เลขที่ 242 ห้องเลขที่ A210 อาคาร A
ศูนย์การค้าเพลินนารี่มอลล์
ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน
กรุงเทพมหานคร 10230
Line QrCode
Line ID : @propertyhub
โทร. 02-026-3049

support@propertyhub.in.th

Line QrCode
Line ID : @propertyhub
โทร. 02-026-3049

support@propertyhub.in.th

twitter icon
youtube icon
instagram icon
Copyright © 2019-2020 Zimple Internet Co., Ltd. , All rights reserved.
facebook icon
twitter icon
youtube icon
instagram icon